ตำราฉบับเต็มในรูปแบบ pdf : เผยแพร่แล้ว

ตำราเล่มนี้ ถูกพัฒนาและปรับปรุงมาจากตำรา “ชีวสถิติขั้นพื้นฐานและการวิเคราะห์ข้อมูล : STATA 10” ของผู้เขียน ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนการผลิตตำราใหม่จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากรูปแบบเป็นเล่ม มาเป็นเวอร์ชั่นใหม่ในรูปแบบ pdf ภายใต้แนวคิดของผู้เขียนที่พยายามมุ่งเน้นและอยากจะผลิตตำราชีวสถิติ ด้วยการนำเอาทั้งทฤษฏี หลักการและแนวปฏิบัติจากการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติมาประกอบเข้าด้วยกัน ผ่านวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน และครอบคลุมประเด็นพื้นฐานสำคัญที่จำเป็นสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการแสดงและอธิบายความเชื่อมโยงระหว่างแนวคิด หลักการและวิธีปฏิบัติ ไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการแปลและสรุปผล…จากตัวอย่างที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานจริงภายใต้สถานการณ์ต่างๆ…
ตำรา “หลักการทางชีวสถิติและแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA15” ประกอบด้วย 8 บท (440 หน้า) …ได้แก่ บทที่ 1 หลักการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ, บทที่ 2 การประมาณค่าพารามิเตอร์, บทที่ 3 การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ, บทที่ 4 การอนุมานค่าเฉลี่ย, บทที่ 5 การวิเคราะห์สหสัมพันธ์และสมการถดถอยเชิงเส้น, บทที่ 6 การอนุมานค่าสัดส่วน, บทที่ 7 การวิเคราะห์ความเสี่ยงและสถิติในงานวินิจฉัยโรค และ บทที่ 8 การคำนวณขนาดตัวอย่าง
ผู้สนใจสามารถ Download ไฟล์ pdf ตัวอย่าง (ปกหน้า ปกใน คำนำ สารบัญและบทที่ 1 หลักการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ) ได้ฟรี…>>> คลิกที่นี่
ผู้สนใจสั่งซื้อตำราฉบับเต็มในรูปแบบ pdf ผ่านระบบออนไลน์…>>> คลิกที่นี่
ตำราฉบับเต็มในรูปแบบ pdf : กำลังเตรียมจะเผยแพร่

ตำรา “การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม สำหรับข้อมูลก่อน-หลังแบบวัดซ้ำสองกลุ่ม ด้วยโปรแกรม STATA” ถือเป็นตำราอีกเล่มที่ผู้เขียนตั้งใจและมุ่งมั่นที่จะจัดทำขึ้นมา เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัย โดยเฉพาะภายใต้แบบแผนงานวิจัยเชิงทดลองสำหรับข้อมูลก่อน-หลังแบบวัดซ้ำสองกลุ่ม ซึ่งมีการนำมาใช้ในงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพค่อนข้างมาก ครอบคลุมทั้งงานวิจัยที่มีการคัดเลือกคนเข้ากลุ่มแบบสุ่ม (randomization) เช่น งานวิจัยแบบ RCT เป็นต้น หรือ งานวิจัยที่มีการคัดเลือกคนเข้ากลุ่มแบบไม่สุ่ม (non-randomization) เช่น งานวิจัยแบบกึ่งทดลอง หรือ quasi-experimental study ที่ถูกนำมาใช้ค่อนข้างมากในงานวิจัยด้านสาธารณสุข เป็นต้น
สถานะ : รอจัดรูปเล่ม…เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่…

ตำรา “การวิเคราะห์ตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไป (GLMs) ด้วยโปรแกรม STATA” ถือเป็นตำราที่มุ่งเน้นพื้นฐานของตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไป หรือ generalized linear model ซึ่งถูกนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย…แต่แนวคิดและพื้นฐานที่มาของตัวแบบดังกล่าว ยังไม่มีตำราฉบับภาษาไทยสามารถที่ให้รายละเอียดในการศึกษาค้นคว้าแก่นักวิจัย นักศึกษา ได้อย่างชัดเจนและครอบคลุม ดังนั้นตำราเล่มนี้ จึงถือเป็นแรงบันดาลใจของผู้เขียนที่ต้องการให้น้องๆ นักวิจัยและนักศึกษาได้มีตำราภาษาไทยเกี่ยวกับตัวแบบดังกล่าว ไว้ศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมในอนาคตต่อไป โดยเฉพาะการนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สถานะ : กำลังเขียน…เพื่อรอจัดรูปเล่ม…

ตำรา “การวิเคราะห์สมการประมาณค่านัยทั่วไป (Generalized Estimating Equation) ด้วยโปรแกรม STATA”ถือเป็นตำราอีกเล่มที่มีความต่อเนื่องมาจากตำรา “การวิเคราะห์ตัวแบบเชิงเส้นนัยทั่วไป (GLMs) ด้วยโปรแกรม STATA” เพื่อนำมาใช้กับตัวแปรผลลัพธ์ในกรณีที่มีการวัดซ้ำมากกว่าสองครั้งขึ้นไป…และเช่นเดียวกัน เนื่องจากตำราฉบับภาษาไทยในประเด็นดังกล่าวนี้ ค่อนข้างมีน้อย จึงทำให้นักวิจัย และนักศึกษาบางส่วน ไม่สามารถเข้าถึงการเรียนรู้และค้นความวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติด้วยวิธีการ GEE นี้ได้อย่างชัดเจนและครอบคลุม ดังนั้นตำราเล่มนี้ จึงถือเป็นอีกความมุ่งมั่นของผู้เขียนที่ต้องการให้น้องๆ นักวิจัยและนักศึกษาได้มีตำราภาษาไทยเกี่ยวกับตัวแบบดังกล่าว ไว้ศึกษาและเรียนรู้เพิ่มเติมในอนาคต โดยเฉพาะการนำมาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA สำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สถานะ : กำลังเขียน…เพื่อรอจัดรูปเล่ม…