ฟรี...download
[ การใช้งานโปรแกรมวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวสถิติ : STATA 15 ]
[ การนำวิธีการทางสถิติมาใช้ในงานวินิจฉัยชุมชน ]
ตำรา “การนำวิธีการทางสถิติมาใช้ในงานวินิจฉัยชุมชน” ถือเป็นตำราอีกเล่มของผู้เขียน ซึ่งถูกเขียนและเผยแพร่ใน ปี พ.ศ. 2549 เพื่อใช้ในการเรียนการสอนนักศึกษาในระดับปริญญาตรีและขณะเดียวกันก็ถูกนำไปใช้ประกอบการเสนอขอตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ในสาขาทางชีวสถิติ …แต่อย่างไรก็ตาม แม้ตำราดังกล่าว จะถูกเขียนขึ้นมานานแล้ว แต่เนื้อหาภายในเล่มส่วนใหญ่ ยังคงเป็นแนวคิดและหลักการเกี่ยวกับกระบวนการวิจัยที่ค่อนข้างชัดเจนและไม่เปลี่ยนแปลง… ดังนั้นผู้เขียน จึงเห็นว่า ตำราเล่มนี้ ควรจะถูกนำมาใช้ประโยชน์ เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการเรียนรู้พื้นฐานทางด้านวิจัยและชีวสถิติ โดยเฉพาะขั้นตอนการสร้างแบบสอบถาม การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การสุ่มตัวอย่างในงานวิจัย รวมถึงแนวทางการประมวลผลข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม STATA ต่อไป
ตำราเล่มนี้ ประกอบด้วย 11 บท (254 หน้า) และเนื้อหาของต้นฉบับยังคงสภาพไว้เช่นเดิม ไม่เปลี่ยนแปลง แต่ถูกจัดทำให้อยู่ในรูปแบบ pdf เพื่อเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักศึกษาและผู้สนใจ สามารถ download รูปเล่มไปศึกษาเพิ่มเติมได้ ฟรี…>>> คลิกที่นี่
ทางเลือกใหม่ในการเรียนรู้ชีวสถิติบนระบบออนไลน์
การเรียนรู้ผ่าน Facebook เป็นการเรียนรู้ชีวสถิติบนระบบออนไลน์ โดยผู้เขียนได้มีการทบทวนเนื้อหาทั้งจากบทความวิจัยและบทความวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูลระดับนานาชาติ รวมถึงรวบรวมจากประสบการณ์ในการสอน การทำวิจัยและการให้คำปรึกษาทางด้านวิจัยและชีวสถิติ มานำเสนอผ่าน Facebook ในหลากหลายรูปแบบ อาทิ ข้อความ คลิป reel และคลิปวีดีโอ รวมถึงการ live สด บนเพจ “เติมเต็มชีวสถิติ…อย่างมืออาชีพ” ทั้งนี้เพื่อเป็นการ update องค์ความรู้ทางด้านชีวสถิติแก่นักวิจัย นักศึกษาและผู้ที่สนใจในการเรียนรู้ ได้พัฒนาองค์ความรู้ให้มีความเป็นสากลมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน ก็เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในหลักการทางสถิติที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการนำเสนอผลงานวิจัยในรูปแบบต่างๆ ต่อไป…>>> คลิกที่นี่
การเรียนรู้ผ่าน YouTube เป็นการเรียนรู้ชีวสถิติบนระบบออนไลน์ ผ่าน YouTube ในรูปแบบวีดีโอ ซึ่งเกิดขึ้นจากการรวบรวมนำเอาเนื้อหาที่ผู้เขียนได้ทำการบันทึกและจัดทำเป็นวีดีโอ เพื่อมุ่งเน้นและชี้นำสังคมในประเด็นสำคัญทางชีวสถิติ ด้วยการนำออกเผยแพร่ผ่านสื่อบน YouTube ในช่วงก่อนการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดยประเด็นเนื้อหาที่นำเสนอ ได้ถูกจำแนกออกเป็น EP ต่างๆ ภายใต้การนำเสนอผ่านระบบ YouTube โดยตรงด้วยชื่อ “เติมเต็มชีวสถิติ…อย่างมืออาชีพ” และการนำเสนอผ่านทาง Facebook ด้วยชื่อเพจ “การวิเคราะห์ข้อมูลระยะยาวแบบง่ายๆ สบายๆ สไตล์อาจารย์ช้าง” และนำมารวบรวม เพื่อให้นักวิจัย นักศึกษาและผู้ที่สนใจเรียนรู้ สามารถทบทวนและทำความเข้าใจเพิ่มเติมในประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องได้…>>> คลิกที่นี่
การเรียนรู้ผ่าน บทความวิชาการ เป็นการเรียนรู้ชีวสถิติบนระบบออนไลน์ ผ่านบทความวิชาการในรูปแบบภาษาไทย ภายใต้แนวคิดของผู้เขียน ที่ต้องการผลักดันและส่งเสริมให้บ้านเรา มีสื่อที่ผลิตองค์ความรู้ทางสถิติเป็นสากล แต่สามารถสื่อสารและเข้าถึงได้ง่าย โดยไม่มีข้อจำกัดด้านภาษา ดังนั้นบทความที่ถูกนำมาเสนอ จึงเป็นบทความวิชาการทางสถิติในประเด็นสำคัญของผู้เขียน ที่ผ่านการทบทวนเนื้อหามาจากวารสารชั้นนำในฐานข้อมูลนานาชาติและได้ถูกตีพิมพ์เผยแพร่ผ่านวารสารที่อยู่ในฐานข้อมูลของประเทศ หรือ TCI เรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสและเป็นทางเลือกให้นักวิจัย นักศึกษา หรือ ผู้ที่สนใจเรียนรู้ประเด็นทางชีวสถิติ สามารถทบทวนและเรียนรู้เพิ่มเติม อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้อ้างอิงในงานวิจัยที่เกี่ยวข้องต่อไปได้…>>> คลิกที่นี่
การเรียนรู้ผ่าน บทเรียนแบบ Module เป็นการเรียนรู้ชีวสถิติบนระบบออนไลน์ ผ่านบทเรียนแบบ Module …ด้วยคลิปการสอนที่แบ่งเนื้อหาออกตามประเด็นหลักที่สำคัญ…และภายใต้ประเด็นหลักดังกล่าว…ยังได้แบ่งเนื้อหาย่อยออกเป็นราย Module เพื่อมุ่งเน้นและกล่าวถึงรายละเอียดเนื้อหาที่เกี่ยวข้องให้มีความครอบคลุม…เสมือนมานั่งเรียนกับผู้สอนโดยตรง…ทั้งนี้เพื่อให้นักวิจัย นักศึกษา หรือ ผู้ที่สนใจ…สามารถทบทวนและนำองค์ความรู้ที่ได้ไปต่อยอด หรือ update องค์ความรู้เดิมที่มีอยู่…ให้เพิ่มพูนและมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น…>>> คลิกที่นี่
STATA tips [ เคล็ดลับการใช้งาน STATA]
STATA tips [ เคล็ดลับการใช้งาน STATA ] ถือเป็นอีกหนึ่งทางเลือก สำหรับการเป็นพื้นที่เรียนรู้ (learning space) เกี่ยวกับเทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวสถิติ โดยเฉพาะการนำโปรแกรม STATA มาใช้งานและขณะเดียวกัน ผู้เขียนยังมุ่งหวังว่า พื้นที่การเรียนรู้ตรงนี้ จะเป็นเวทีการเรียนรู้ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์ที่สำคัญ…ต่อการพัฒนาเทคนิคและวิธีการในการวิเคราะห์ข้อมูลทางชีวสถิติ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต…อีกทั้งยังเป็นทางเลือกในการเรียนรู้เคล็ดลับการใช้งานโปรแกรม STATA สำหรับนักวิจัย นักศึกษา หรือ ผู้ที่สนใจ ในการพัฒนาและเพิ่มพูนทักษะสำหรับการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อผลิตผลงานทางวิชาการให้มีคุณภาพและสามารถนำไปพัฒนาและต่อยอดในประเด็นต่างๆ ที่เกี่ยวข้องต่อไปได้…>>> คลิกที่นี่
ตำราทางชีวสถิติ
ตำราทางชีวสถิติ ถือเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่สำคัญของผู้เขียน โดยพยายามและผลักดัน อยากจะให้นักวิจัย นักศึกษาและผู้สนใจที่จะเรียนรู้ทางสถิติ ได้มีตำราทางชีวสถิติที่เป็นทางเลือกในการนำมาใช้งานในการศึกษาด้วยตนเอง ซึ่งครอบคลุมเนื้อหาทั้งในเชิงทฤษฏีและการปฏิบัติด้วยโปรแกรมไปพร้อมกัน อีกทั้งยังสามารถนำไปใช้รายงานผลเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานเชิงวิชาการในรูปแบบต่างๆได้ ภายใต้หลักการที่เป็นมาตรฐานสากลระดับนานาชาติ และสามารถเข้าถึงได้ด้วยภาษาที่ง่าย ไม่ซับซ้อน รวมถึงการอธิบายเนื้อหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงได้อย่างชัดเจนและครอบคลุม…โดยในทางปฏิบัติ ได้จำแนกสถานะของตำราทางชีวสถิติ ออกเป็น 3 ลักษณะ ดังนี้
(1) ตำราฉบับเต็มในรูปแบบ pdf : เผยแพร่แล้ว หมายถึง ตำราที่ผู้สนใจ สามารถสั่งซื้อได้ผ่านรายการ ระบบการสั่งซื้อ แบบออนไลน์…
(2) ตำราฉบับเต็มในรูปแบบ pdf : กำลังเตรียมจะเผยแพร่ หมายถึง ตำราที่กำลังเตรียมจะเผยแพร่…แต่ยังไม่เปิดให้ผู้ที่สนใจ สามารถสั่งซื้อได้…
(3) ตำราฉบับเต็มในรูปแบบ pdf : ยังไม่เผยแพร่ หมายถึง ตำราที่อยู่ในกระบวนการเขียน ซึ่งยังไม่เสร็จสมบูรณ์…แต่จะมีการรายงานความก้าวหน้าให้ผู้สนใจทราบเป็นระยะๆ…
…นักวิจัย นักศึกษา หรือ ผู้ที่สนใจตำราทางชีวสถิติ…สามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้…>>> คลิกที่นี่